สำหรับผู้เดินทางเยือนญี่ปุ่น

มีนักท่องเที่ยวและชาวต่างชาติเดินทางมาญี่ปุ่นเป็นจำนวนมากขึ้นในฐานะนักเรียนหรือคนทำงาน ในหน้านี้ คุณจะพบข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับระบบการดูแลสุขภาพในญี่ปุ่น

คำแนะนำก่อนเดินทาง

ผู้ที่มีอาการป่วยเรื้อรังและการรักษา

ผู้มีโรคประจำตัว/ผู้ที่ต้องรับประทานยา
ก่อนเดินทาง ผู้มีโรคประจำตัวควรเตรียมเอกสารที่มีรายละเอียดเกี่ยวกับโรคและการรักษาในปัจจุบันเป็นฉบับภาษาอังกฤษเอาไว้สำหรับยามฉุกเฉิน
สำหรับผู้ที่ต้องพกยาเสพติดทางการแพทย์หรือยารักษาโรคจิตเพื่อวัตถุประสงค์ในการรักษา มีกฎที่กำหนดให้ปฏิบัติตาม ยาเสพติดให้โทษทางการแพทย์ต้องได้รับความเห็นชอบจากอธิบดีกรมสวัสดิการท้องถิ่นล่วงหน้า ขั้นตอนสำหรับยารักษาโรคจิตแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับปริมาณยาทั้งหมดที่คุณต้องพกติดตัว เป็นไปไม่ได้ที่จะนำเข้า (ส่งออก) ยา หรือแม้แต่ส่งทางไปรษณีย์และให้คนรู้จักดำเนินการให้คุณ โปรดทราบว่าญี่ปุ่นมีการลงโทษที่เข้มงวดมากสำหรับการนำเข้ายาเสพติดทางการแพทย์จำนวนเล็กน้อย และคุณควรแน่ใจว่าได้ปฏิบัติตามขั้นตอนอย่างระมัดระวังเพื่อหลีกเลี่ยงผลทางกฎหมายที่อาจเกิดขึ้น รวมถึงการจำคุกหรือการเนรเทศ สำหรับการนำยาเสพติดทางการแพทย์จำนวนเล็กน้อยติดตัวไปด้วย โปรดทราบว่ายาที่จำหน่ายหน้าเคาน์เตอร์บางชนิดมีจำหน่ายในบางประเทศ (เช่น panadeine) อาจผิดกฎหมายในญี่ปุ่น

เกี่ยวกับการฉีดวัคซีนป้องกัน

ควรฉีดวัคซีนป้องกันโรคที่จำเป็นให้เรียบร้อยล่วงหน้า
และพกประวัติการฉีดวัคซีนของคุณไปด้วย
ในประเทศญี่ปุ่น มีการระบาดของโรคหัดและโรคหัดเยอรมันอยู่ขณะนี้
กรุณาตรวจสอบก่อนเดินทางว่าคุณได้ฉีดวัคซีนป้องกันแล้ว
ตั้งแต่ปี 2018 เป็นต้นมา ได้พบเห็นการระบาดของโรคตับอักเสบจากไวรัสตับอักเสบ A ในกลุ่มรักร่วมเพศชาย นอกจากนี้ยังพบการระบาดของโรคตับอักเสบจากไวรัสตับอักเสบ B เป็นระยะๆ
หากคุณมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ ควรฉีดวัคซีนป้องกันโรคตับอักเสบจากไวรัสตับอักเสบ A และไวรัสตับอักเสบ B มาด้วย
*สำหรับ COVID-19 กรุณาตรวจสอบข้อมูลล่าสุดจากเว็บไซต์ด้านล่าง
 https://www.japan.travel/en/coronavirus/

การลงทะเบียนระบบประกันสุขภาพ

หากไม่ได้สมัครระบบประกันสุขภาพเอาไว้ ค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่คนไข้ต้องแบกรับจะเป็นจำนวนที่สูงมาก
ควรสมัครประกันสุขภาพของเอกชนหรือประกันเดินทางเอาไว้ล่วงหน้า
และควรตรวจสอบรายละเอียดการจ่ายเงินชดเชยของประกันที่ทำสัญญาไว้ด้วย
บุคคลที่ขึ้นทะเบียนชาวต่างชาติและได้รับอนุญาตให้พำนักในญี่ปุ่นเป็นเวลา 3 เดือนหรือมากกว่า รวมทั้งครอบครัวของบุคคลนั้น มีหน้าที่ต้องเข้าร่วมระบบประกันสุขภาพแห่งชาติของญี่ปุ่น
ชาวต่างชาติที่ทำงานในบริษัทเข้าข่ายผู้มีสิทธิ์รับประกันสุขภาพอยู่แล้วโดยผ่านทางบริษัท จึงไม่จำเป็นต้องสมัครเข้าประกันสุขภาพเองเป็นการส่วนตัว
ระบบประกันสุขภาพแห่งชาติของญี่ปุ่นไม่ครอบคลุมให้กับนักท่องเที่ยวหรือผู้ที่เดินทางมาเพื่อรักษาโรคที่ญี่ปุ่น

วีซ่าการแพทย์

สำหรับผู้ที่เดินทางมาประเทศญี่ปุ่นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อรับการรักษาสามารถขอวีซ่าการแพทย์ได้ 
 https://www.mofa.go.jp/j_info/visit/visa/medical_stay1.html

ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับระบบสาธารณสุขของญี่ปุ่น

การเข้าถึงสถานพยาบาลในประเทศญี่ปุ่นสามารถทำได้ง่าย
ทว่าเนื่องจากไม่มีระบบแพทย์เวชปฏิบัติทั่วไป (General Practitioner - GP) คุณต้องตัดสินใจด้วยตนเองว่าจะตรวจรักษาที่แผนกใดก่อน
นอกจากนี้ โดยมากแล้วหากไม่มีจดหมายแนะนำจากสถานพยาบาลจะไม่สามารถพบแพทย์ในโรงพยาบาลใหญ่ๆ ได้
หากมีอาการเกี่ยวกับอวัยวะเฉพาะจุด เช่น ตา หู จมูก หรือฟัน ควรไปพบแพทย์ที่คลินิกซึ่งมีผู้เชี่ยวชาญในด้านนั้น ๆ
ในกรณีที่ไม่ทราบว่าควรจะพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญแผนกใด กรุณาพบแพทย์ที่คลินิกอายุรกรรมหรือคลินิกกุมารเวช

หากต้องการรถดับเพลิง, รถพยาบาล, หน่วยกู้ภัย กรุณาโทรเบอร์ 119
ถ้าสงสัยว่าจะเกี่ยวข้องกับอุบัติเหตุหรือคดีความ กรุณาติดต่อเบอร์ 110
คุณสามารถใช้โทรศัพท์สาธารณะโทรหาสถานีดับเพลิงหรือสถานีตำรวจโดยไม่ต้องเสียค่าบริการใดๆ
 https://tabunka.tokyo-tsunagari.or.jp/guide_eng/index.html

โรงพยาบาลหลายแห่งรับตรวจคนไข้ที่เพิ่งมาใช้บริการครั้งแรกแม้ไม่ได้นัดหมายมาก่อน แต่ยังมีบางแห่งที่ไม่รับตรวจหากไม่ได้นัดหมายไว้ล่วงหน้า ดังนั้นจึงควรตรวจสอบก่อนไปพบแพทย์
ควรพกบัตรประกันสุขภาพ หรือเอกสารอื่นๆ ที่ยืนยันว่าคุณอยู่ในระบบประกันสุขภาพไปด้วยเสมอ
โรงพยาบาลต่างๆ จะขอตรวจสอบสถานะการประกันสุขภาพของคุณเดือนละครั้ง จึงควรพกบัตรประกันสุขภาพเมื่อไปพบแพทย์
โรงพยาบาลอาจขอให้ชาวต่างชาติแสดงพาสปอร์ตและเอกสารยืนยันคุณสมบัติพำนักในประเทศญี่ปุ่น (Residence Card) ด้วย

การหาโรงพยาบาล

ที่ญี่ปุ่นมีสถานพยาบาลทั้งของรัฐและเอกชนตั้งอยู่ทั่วประเทศ
การใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อค้นหาสถานพยาบาลเป็นวิธีที่ใช้กันทั่วไป
มีเว็บไซต์และแอพพลิเคชั่นหลากหลายสำหรับการค้นหาโรงพยาบาล แต่ควรระมัดระวังในการเลือกใช้ บางเว็บไซต์ลงความคิดเห็นของผู้ใช้บริการที่อาจมีอคติและผิดไปจากความเป็นจริง
นอกจากนี้ ข้อมูลที่ลงในเว็บค้นหาอาจเป็นข้อมูลเก่าแล้ว กรุณาตรวจสอบข้อมูลล่าสุดของสถาบันการแพทย์ที่เกี่ยวข้องก่อนไปรับการตรวจ

มีระบบให้บริการข้อมูลหน้าที่การทำงานด้านการแพทย์ (เน็ตเวิร์คข้อมูลการแพทย์) สำหรับให้ข้อมูลสถาบันการแพทย์ในแต่ละจังหวัดแก่ประชาชน ตามที่กำหนดในกฎหมายการแพทย์
ทำให้สามารถค้นหาสถาบันการแพทย์แยกแต่ละจังหวัดทั่วประเทศได้
 https://www.mhlw.go.jp/stf/seisakunitsuite/bunya/kenkou_iryou/iryou/teikyouseido/index.html

ญี่ปุ่นกำลังพัฒนาระบบที่เปิดให้ชาวต่างชาติเข้ารับบริการสุขภาพของประเทศได้อย่างปลอดภัย
ในจำนวนนั้นมี "ระบบรับรองสถานพยาบาลที่รับรักษาคนไข้ชาวต่างชาติ (Japan Medical Service Accreditation for International Patients - JMIP)"เพื่อรับรองถสานพยาบาลที่สามารถให้บริการโดยคำนึงถึงภูมิหลังและวัฒนธรรมที่แตกต่าง เช่น บริการแนะนำการตรวจรักษาในหลายภาษา หรือ บริการที่รองรับคนไข้ที่นับถือศาสนาที่แตกต่างกันไป เป็นต้น
สามารถค้นหาสถานพยาบาลที่ขึ้นทะเบียนกับ JMIP ได้จากเว็บไซต์ด้านล่าง
 http://jmip.jme.or.jp/index.php?l=eng

นอกจากนี้ มีองค์กรและธุรกิจอื่น ๆ ที่ให้การรับรองแบบเดียวกันนี้
・รายชื่อสถาบันการแพทย์ที่รับรักษาชาวต่างชาติที่เดินทางมาประเทศญี่ปุ่น โดยองค์การส่งเสริมการท่องเที่ยวแห่งประเทศญี่ปุ่น (Japan National Tourism Organization - JNTO)
 https://www.jnto.go.jp/emergency/eng/mi_guide.html
・ศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์ญี่ปุ่น(MEJ)
 https://medicalexcellencejapan.org/en/

กรณีที่ผู้ปกครองประสบปัญหาไม่สามารถดูแลอาการของบุตรได้ในช่วงวันหยุดและเวลากลางคืน สามารถติดต่อขอปรึกษาแพทย์หรือพยาบาลทางโทรศัพท์ได้ที่เบอร์ #8000
 https://www.mhlw.go.jp/topics/2006/10/tp1010-3.html
แต่อาจมีข้อจำกัดทางด้านภาษา

การหาล่ามด้านการแพทย์

การหาแพทย์ที่พูดภาษาอังกฤษได้ หรือสถานพยาบาลที่กระตือรือร้นรับรักษาชาวต่างชาติในเมืองใหญ่ไม่ใช่เรื่องยากนัก
แต่หากคุณอยู่ในพื้นที่ชนบทอาจเป็นเรื่องยาก
นอกจากนี้คลีนิกเล็กๆ ที่ยังไม่ให้บริการรองรับหลายภาษายังมีอีกมาก

เวลาค้นหาสถานพยาบาล ขอแนะนำให้ตรวจสอบว่ามีบริการล่ามแปลภาษาด้วยหรือไม่
ที่ญี่ปุ่นขณะนี้มีคนไข้ชาวต่างชาติเพิ่มขึ้น จึงได้สร้างระบบที่คนไข้ชาวต่างชาติสามารถพบแพทย์ได้อย่างสบายใจ ตามที่กล่าวถึงในหัวข้อ [การหาโรงพยาบาล]
มีหลายระบบที่รับรองว่าบริการสำหรับคนไข้ชาวต่างชาติได้มาตรฐานระดับหนึ่ง และโรงพยาบาลที่ได้รับการรับรองส่วนใหญ่สามารถให้บริการได้หลายภาษา

นอกจากนี้แต่ละจังหวัดได้ดำเนินการสนับสนุนล่ามด้านการแพทย์สำหรับคนไข้ที่พูดภาษาญี่ปุ่นไม่ได้ในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งกันเอง
โปรดตรวจสอบทางเว็บไซต์ว่าหน่วยงานท้องถิ่นในพื้นที่ของคุณมีบริการสนับสนุนเช่นนี้หรือไม่

โรงพยาบาลระมัดระวังเอาใจใส่ต่อการดูแลจัดการข้อมูลส่วนบุคคลเสมอ และพยายามเต็มความสามารถที่จะถ่ายทอดเจตนาของผู้ให้การรักษาออกไปอย่างไม่ผิดพลาด เพื่อให้ได้รับความยินยอมอย่างถูกต้องเกี่ยวกับนโยบายการรักษา
หากคุณมีบุคคลในครอบครัวหรือเพื่อนที่พูดภาษาญี่ปุ่นได้มาช่วยเป็นล่าม เท่ากับว่าเคุณต้องเปิดเผยอาการป่วยของตนเองให้บุคคลนั้นรับรู้ด้วย
และล่ามอาจแปลไม่ถูกต้องทั้งหมดเสมอไป ขึ้นอยู่กับความเข้าใจภาษาญี่ปุ่นของบุคคลนั้นด้วย
โปรดคำนึงถึงประเด็นเหล่านี้ เวลาที่คุณขอความช่วยเหลือด้วย

เกี่ยวกับค่ารักษาพยาบาล

ควรสมัครประกันสุขภาพของเอกชนหรือประกันเดินทางเอาไว้ล่วงหน้า ตามที่กล่าวไว้ในหัวข้อ "การเตรียมตัวก่อนเดินทาง"
อย่าลืมตรวจสอบเนื้อหาของสัญญา
และควรตรวจสอบรายละเอียดการจ่ายเงินชดเชยของประกันที่ทำสัญญาไว้ด้วย
ประกันของเอกชนที่สมัครได้หลังจากมาถึงญี่ปุ่นก็มีเช่นกัน
บุคคลที่ขึ้นทะเบียนชาวต่างชาติและได้รับอนุญาตให้พำนักในญี่ปุ่น 3 เดือนหรือมากกว่า รวมทั้งครอบครัวของบุคคลนั้น มีหน้าที่ที่ต้องเข้าร่วมระบบประกันสุขภาพแห่งชาติของญี่ปุ่น
ชาวต่างชาติที่ทำงานในบริษัทเข้าข่ายผู้มีสิทธิ์รับประกันสุขภาพอยู่แล้วโดยผ่านทางบริษัท จึงไม่จำเป็นต้องสมัครเข้าประกันสุขภาพเองเป็นการส่วนตัว
หากมีจุดประสงค์เพื่อท่องเที่ยวหรือรักษาอาการป่วยที่ญี่ปุ่น จะไม่ถือเป็นกลุ่มเป้าหมายของประกันสุขภาพ

กรณีที่สมัครเข้าประกันสุขภาพแห่งชาติ จะจ่ายเฉพาะ 30% ของค่ารักษาพยาบาล
หากไม่ได้สมัครระบบประกันสุขภาพเอาไว้ ค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่คนไข้ต้องแบกรับจะเป็นจำนวนที่สูงมาก

ประกันสุขภาพจะครอบคลุมค่ารักษาส่วนใหญ่ที่จำเป็นในด้านการแพทย์
แต่ประกันสุขภาพไม่ครอบคลุมการพบแพทย์นอกเวลาในตอนที่ไม่ใช่เวลาฉุกเฉินในเชิงการแพทย์, ค่าออกใบรับรองแพทย์, ค่าใช้จ่ายในการฝากครรภ์และคลอดบุตร, การตรวจรักษาฟัน, การตรวจสุขภาพ, การตรวจโรค และอื่นๆ
กรุณาสอบถามสถาบันการแพทย์ล่วงหน้า
สถาบันการแพทย์ที่ไม่รองรับการชำระเงินผ่านบัตรเครดิตยังมีอยู่มาก ควรพกเงินสดจำนวนหนึ่งไปด้วยเมื่อพบแพทย์จะเป็นการดี
ถ้าสมัครประกันสุขภาพของเอกชน ควรเก็บใบเสร็จรับเงินเอาไว้เพื่อทำเรื่องเรียกเงินชดเชยด้วย

ขั้นตอนในการรับบริการทางการแพทย์

กระบวนการทั่วไปในการรับบริการที่โรงพยาบาล มีดังนี้

  1. 0. สอบถามก่อนไปพบแพทย์

    ติดต่อโรงพยาบาลเพื่อยืนยันวันเวลาที่จะไปตรวจและพบแพทย์ครั้งแรก สอบถามรายละเอียดการนัดหมาย และการใช้จดหมายแนะนำ
    หากต้องการชำระเงินผ่านบัตรเครดิต อย่าลืมสอบถามว่ารองรับการชำระเงินผ่านบัตรเครดิตหรือไม่

  2. 1. ลงทะเบียน

    เมื่อถึงโรงพยาบาล ให้ไปยังจุดลงทะเบียนและแจ้งว่าเป็นการมาตรวจครั้งแรก
    แสดงบัตรประกันสุขภาพ และถ้ามีจดหมายแนะนำก็แสดงด้วย
    หากคุณเป็นชาวต่างชาติ เจ้าหน้าที่อาจจะขอให้แสดงพาสปอร์ตหรือเอกสารยืนยันตัวตนอื่น ๆ
    หากไม่ใช่ผู้พำนักอาศัยในญี่ปุ่น คุณอาจจะต้องจ่ายค่ามัดจำล่วงหน้า

  3. 2. กรอกประวัติการรักษาพยาบาล

    เจ้าหน้าที่จะให้คุณกรอกประวัติการรักษาพยาบาล
    นอกจากอาการในปัจจุบันแล้ว โปรดแจ้งประวัติและอาการแพ้ต่างๆ ที่เคยเป็น
    อาจมีการขอวัดอุณหภูมิร่างกาย ก่อนเข้าพบแพทย์

  4. 3. การตรวจรักษาและปรึกษาแพทย์

    หากคุณไปพบแพทย์โดยไม่ได้ทำการนัดหมายล่วงหน้า คุณจะได้ตรวจตามคิวที่ได้รับเมื่อไปถึง โดยคิวอาจจะเปลี่ยนแปลงได้ตามอาการและความเร่งด่วนในการรักษาของคนไข้
    ถ้ามีคนมาพบแพทย์จำนวนมาก อาจจะรอนานขึ้นไปด้วย
    คุณอาจต้องได้รับการตรวจเพิ่ม ตามคำวินิจฉัยของแพทย์ โดยเจ้าหน้าที่อาจจะพาไปตรวจเลย หรืออาจนัดหมายให้มาตรวจในวันอื่น
    บางครั้งอาจมีการแนะนำให้มาตรวจหาโรคในวันอื่น

  5. 4. ชำระเงิน

    หลังจากพบแพทย์และตรวจรักษาเรียบร้อยแล้ว ให้ไปที่แคชเชียร์เพื่อชำระค่าบริการ
    ค่าใช้จ่ายในการตรวจรักษาจะถูกคำนวณตามระบบค่าธรรมเนียมทางการแพทย์ที่เป็นมาตรฐานของญี่ปุ่น
    หากเป็นการตรวจอาการที่ประกันไม่ครอบคลุม คุณจะถูกเรียกเก็บเงินเป็นจำนวนตามที่โรงพยาบาลกำหนดเอง

  6. 5. การจ่ายยา

    หากคุณได้รับการสั่งจ่ายยาโดยแพทย์ คุณสามารถไปรับยาได้จากแผนกยาของโรงพยาบาล หรือร้านขายยานอกโรงพยาบาล (“chōzai yakkyoku”)
    เมื่อไปถึงร้านขายยาตามใบสั่งแพทย์ ให้แสดงใบสั่งยาและบัตรประกันเพื่อให้ทางร้านช่วยจัดยาให้
    ร้านขายยาตามใบสั่งแพทย์มีอยู่หลายแห่งใกล้กับโรงพยาบาล คุณจึงไม่ต้องเป็นกังวลในการหาร้าน
    ร้านขายยาทั่วไปบางแห่ง อาจมีเภสัชกรที่สามารถจัดยาตามใบสั่งแพทย์ได้ แต่ไม่แพร่หลายนัก
    ใบสั่งยามักจะมีอายุเพียงแค่ 4 วันหลังออกให้
    เมื่อได้รับใบสั่งยาแล้วควรไปรับยาที่ร้านขายยาตามใบสั่งแพทย์โดยเร็วที่สุด

    ร้านขายยาจะออกสมุดบันทึกประวัติการใช้ยา (“kusuri techō”) ให้ ทำให้เราสามารถบันทึกประวัติการรับยาจากโรงพยาบาลต่างๆ ไว้ในสมุดเล่มเดียวได้ หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการรับประทานยา ควรสอบถามเภสัชกร

  7. 6. ส่งต่อไปยังโรงพยาบาลอื่น

    หากแพทย์วินิจฉัยว่าจำเป็นต้องส่งผู้ป่วยต่อไปรักษาที่โรงพยาบาลอื่น จะมีการออกจดหมายแนะนำให้