Condyloma, Genital Warts

หูดหงอนไก่ คืออะไร?

หูดหงอนไก่เป็นโรคที่ทำให้เกิดหูดบริเวณผิวหนังโดยรอบหรือเยื่อเมือกของอวัยวะเพศ อันเป็นผลจากการติดเชื้อ HPV
เริ่มแรกเป็นเพียงหูดขนาดเล็ก แต่เมื่อหูดโตขึ้นจะทำให้พื้นผิวมีรูปร่างเหมือนกะหล่ำดอกขรุขระ
นอกจากอวัยวะเพศแล้ว ยังเกิดที่บริเวณต่างๆ อีก เช่น ทวารหนัก เยื่อเมือกของลำไส้ตรงหรือภายในปาก และอื่นๆ
ไม่ค่อยพบอาการเจ็บปวดจากหูด
แม้จะรักษาหายแล้วก็ยังมีโอกาสสูงที่จะกลับมาเป็นอีกได้ บางครั้งอาจจะต้องรักษาในระยะยาว
เชื้อ HPV เป็นไวรัสที่พบได้ทั่วไปและมีคนติดเป็นจำนวนมาก มีสายพันธุ์เกือบ 200 ชนิด โดยแต่ละชนิดก่อให้เกิดโรคและประเภทของโรคแตกต่างกันไป
เชื้อ HPV ส่วนใหญ่ไม่ก่อให้เกิดโรคเมื่อเริ่มติดเชื้อ แต่บางชนิดเป็นสาเหตุของหูดหรือมะเร็ง
เชื้อ HPV ที่ทำให้เกิดมะเร็งได้ง่ายหากติดเชื้อจะเรียกว่าชนิดความเสี่ยงสูง (หลักๆ คือ สายพันธุ์ 16 และ สายพันธุ์ 18) ซึ่งเป็นสาเหตุของมะเร็งปากมดลูก มะเร็งทวารหนัก มะเร็งภายในปาก และส่วนอื่นๆ
ประเภทที่ทำให้เกิดหูดหงอนไก่ มีชื่อเรียกว่าชนิดความเสี่ยงต่ำ (หลักๆ คือ สายพันธุ์ 6, สายพันธุ์ 11) เป็น HPV อีกประเภทหนึ่ง

เส้นทางการติดเชื้อและวิธีป้องกันเชื้อ HPV

เชื้อ HPV ติดต่อโดยแทรกซึมผ่านรอยแผลเล็กๆ ที่เกิดขึ้นบนเยื่อเมือกระหว่างมีเพศสัมพันธ์
ถ้าคุณเคยติดเชื้อมาก่อน ใครก็ตามที่มีเพศสัมพันธ์กับคุณแม้เพียงครั้งเดียวก็มีโอกาสติดเชื้อได้
หากหญิงตั้งครรภ์เป็นโรคหูดหงอนไก่ มีโอกาสที่จะถ่ายทอดเชื้อสู่ทารกได้ในเวลาคลอด
แม้โดยทั่วไปจะแนะนำให้ใช้ถุงยางอนามัยในการป้องโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ แต่เชื้อ HPV กระจายตัวอยู่ในวงกว้าง ไม่ว่าจะเป็นบริเวณปากช่องคลอดของผู้หญิง องคชาติและถุงอัณฑะของผู้ชาย บริเวณรอบทวารหนักทั้งในผู้ชายและผู้หญิง และอื่นๆ ดังนั้นการใช้ถุงอนามัยเพียงอย่างเดียวจึงไม่สามารถป้องกันการติดเชื้อ HPV ได้ 100%
ปัจจุบันมีวัคซีนป้องกันการติดเชื้อ HPV นอกจากจะสามารถป้องกันได้ทั้งชนิดความเสี่ยงสูง (สายพันธุ์ 16 สายพันธุ์ 18 และอื่นๆ) ยังสามารถป้องกันสายพันธุ์ 6 และสายพันธุ์ 11 ซึ่งเป็นชนิดที่มีความเสี่ยงต่ำ และยังช่วยป้องกันหูดหงอนไก่
แนะนำให้ฉีดวัคซีนป้องกัน HPV ก่อนมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรก เนื่องจากเชื้อ HPV มีชนิดต่างๆ มากมาย และวัคซีนสามารถป้องกันได้หลายชนิด ดังนั้น การฉีดวัคซีนหลังมีเพศสัมพันธ์ก็มีประสิทธิผลเช่นกัน และยังเป็นการป้องกันการแพร่เชื้อไปยังผู้ที่ไม่เคยติดเชื้อมาก่อนด้วย
กระทรวงสาธารณสุข แรงงาน และสวัสดิการว่า ให้ข้อมูลว่าพบอาการข้างเคียงของฉีดวัคซีน จึงไม่แนะนำให้ดำเนินมาตรการเชิงรุกในการการฉีดวัคซีนเป็นระยะ จนกว่าจะหาหลักฐานเพิ่มเติมเรื่องประสิทธิผลของวัคซีนได้ (14 มิ.ย. พ.ศ. 2556) แต่คำแนะนำนี้ถูกมองว่าไม่ได้เป็นการสั่งหยุดฉีดวัคซีนป้องกัน HPV เป็นระยะ แต่เป็นการแนะนำให้เข้าใจประสิทธิภาพกับความเสี่ยงก่อนตกลงใจฉีดวัคซีน
 https://www.mhlw.go.jp/bunya/kenkou/kekkaku-kansenshou28/index.html/

วิธีตรวจหาหูดหงอนไก่

หูดหงอนไก่มีลักษณะภายนอกที่เด่นเฉพาะตัว สามารถวินิจฉัยได้ง่ายด้วยการตรวจร่างกายเพียงอย่างเดียว แต่ในกรณีที่ไม่แน่ใจก็จะเก็บเซลล์จากหูดไปตรวจหาไวรัสในนั้น
บางครั้งอาจมีมะเร็งแฝงอยู่ในหูด โดยมีสาเหตุมาจากติดเชื้อ HPV พร้อมกันหลายชนิด หากสงสัยว่าป่วยเป็นมะเร็งร่วมด้วย ก็จะตรวจทางพยาธิวิทยาโดยใช้กล้องจุลทรรศน์ส่องดูเนื้อเยื่อของหูด อื่นๆ นอกจากนี้อาจเพิ่มการตรวจแบบ PCR ที่สามารถตรวจได้ว่าเป็นชนิดเสี่ยงสูงหรือไม่

วิธีรักษาหูดหงอนไก่

การรักษาจะโฟกัสที่การเอาหูดออกเป็นหลัก ซึ่งจะใช้วิธีตัดทิ้งด้วยเลเซอร์หรือมีดผ่าตัดไฟฟ้า การรักษาด้วยความเย็นโดยใช้ไนโตรเจนเหลว และการผ่าตัด
บางครั้งอาจใช้ยาทาภายนอก
แม้รักษาหายแล้วแต่มีโอกาสสูงมากที่จะเป็นอีกได้
ฉะนั้นจำเป็นต้องรักษา คอยสังเกตและติดตามผลในระยะยาว