Hepatitis B

โรคไวรัสตับอักเสบ B (Hepatitis B) คืออะไร?

โรคไวรัสตับอักเสบ B เป็นโรคตับจากเชื้อไวรัสซึ่งมีสาเหตุมาจากการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ B (Hepatitis B virus)
เมื่อติดเชื้อแล้ว ผู้ติดเชื้อประมาณ 20-30% จะแสดงอาการติดเชื้อเฉียบพลันหลังผ่านระยะแฝงตัวของโรค 1-6 เดือน ส่วนที่เหลือจะหายได้เองโดยไม่มีอาการ
1-2% ของผู้ที่เป็นตับอักเสบเฉียบพลันจะมีอาการลุกลามเป็นตับเสียหายร้ายแรง ที่เรียกว่าตับอักเสบรุนแรงแบบเฉียบพลัน
หลังฟื้นตัวและรักษาหายจากตับอักเสบเฉียบพลันแล้ว แม้ในตับจะยังมีไวรัสเหลืออยู่เล็กน้อย แต่ส่วนใหญ่มักไม่เกิดปัญหาสุขภาพ
แต่ประมาณ 5-10% ของผู้ที่ติดเชื้อในวัยผู้ใหญ่ มีโอกาสที่ไวรัสจะยังหลงเหลืออยู่ในตับยาวนานต่อเนื่อง (6 เดือนขึ้นไป)
ในเคสส่วนมากจะไม่แสดงอาการหรือมีภาวะแทรกซ้อนใดๆ และอยู่ในสภาวะพาหะต่อไปเรื่อยๆ แต่อาจมีบางเคสที่กลายเป็นตับอักเสบเรื้อรังและลุกลามจนเป็นตับแข็ง
เมื่อเป็นตับอักเสบเรื้อรังก็มีความเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งตับก็สูงขึ้นด้วย
ไวรัสตับอักเสบ B แบ่งได้หลายประเภท
ในช่วงหลังมานี้พบว่ากันว่าการติดเชื้อผ่านการมีผ่านเพศสัมพันธ์ทำให้ลุกลามกลายเป็นโรคเรื้อรังได้ง่าย

เส้นทางการติดเชื้อและวิธีป้องกันโรคไวรัสตับอักเสบ B

ไวรัสตับอักเสบ B ที่อยู่ในเลือด น้ำอสุจิ หรือน้ำหล่อลื่นช่องคลอดของผู้ติดเชื้อ จะแทรกซึมผ่านทางเยื่อเมือกหรือบาดแผล และทำให้เกิดการติดเชื้อ
ก่อนหน้านี้ สาเหตุการติดเชื้อหลักๆ มาจากการแพร่เชื้อจากแม่สู่ลูก การถ่ายเลือด บุคลากรทางการแพทย์ประสบอุบัติเหตุถูกอุปกรณ์แหลมทิ่มตำ การใช้เข็มฉีดยาร่วมกับผู้อื่น แต่ความเสี่ยงในการติดเชื้อจากเส้นทางเหล่านี้ลดน้อยมากลงจนแทบไม่มี เพราะปัจจุบันมีการดำเนินมาตรการที่เหมาะสมทั่วประเทศ
เส้นทางการติดเชื้อขณะนี้เป็นการมีเพศสัมพันธ์ และพบว่ามีการติดเชื้อจากการใช้งานอุปกรณ์เจาะหรือสักซ้ำโดยไมมีการฆ่าเชื้อทำความสะอาด
ในชีวิตประจำวันแทบไม่มีความเสี่ยงในการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ
ไม่ใช้ของใช้ประจำวันที่มีคราบเลือดติด เช่น แปรงสีฟัน, มีดโกนหนวด และอื่นๆ ร่วมกับผู้อื่น สิ่งของที่เปื้อนเลือดควรนำไปล้างให้สะอาดหรือห่อให้มิดชิดแล้วทิ้ง
สิ่งสำคัญคือคุณต้องไม่ทำหัตถการใดๆ ที่จะทำให้เลือดเลอะในสถานที่ที่สุขอนามัยไม่ดี
ผู้ที่ไม่เคยติดโรคไวรัสตับอักเสบ B สามารถป้องกันได้โดยฉีดวัคซีน
ปกติแล้วจะฉีดวัคซีน 3 เข็มโดยเว้นระยะห่างเป็นช่วงๆ
หากคู่นอนของคุณยังไม่ติดเชื้อ แนะนำให้ฉีดวัคซีนป้องกันโรคไวรัสตับอักเสบ B เพื่อป้องกันไม่ให้ถ่ายทอดเชื้อสู่คู่นอนที่มีเพศสัมพันธ์ด้วย
ถุงยางอนามัยช่วยลดความเสี่ยงที่จะติดเชื้อจากการมีเพศสัมพันธ์ แต่ไม่ใช่ว่าจะป้องกันได้ 100%
แนะนำให้ฉีดวัคซีนหากต้องเดินทางไปพื้นที่ที่สุขอนามัยไม่ดี
บางครั้งวัคซีนอาจไม่มีประสิทธิผลเพียงพอในการป้องกัน
จึงควรตรวจวัดค่าระดับภูมิคุ้มกันตอนก่อนและหลังฉีดวัคซีน เพื่อดูว่าระดับภูมิคุ้มกันของคุณเพิ่มขึ้นสูงมากพอแล้วหรือไม่
หญิงมีครรภ์ที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ B จำเป็นต้องมีมาตรการป้องกันการถ่ายทอดเชื้อจากแม่สู่ลูก ดังนั้นการฝากครรภ์จึงสำคัญมาก

การตรวจหาเชื้อไวรัสตับอักเสบ B

การตรวจหาเชื้อไวรัสตับอักเสบ B มีหลายแบบ ซึ่งคุณสามารถเลือกได้ตามวัตถุประสงค์ของคุณ
วิธีที่ใช้กันแพร่หลายที่สุดคือการตรวจหาแอนติเจน HBs
การตรวจหาแอนติบอดี้ HBs ยังสามารถตรวจสอบว่ามีภูมิคุ้มกันไวรัสตับอักเสบ B หรือไม่
ระหว่างมีอาการของตับอักเสบเฉียบพลัน ค่าเอนไซม์ AST/ALT ที่ปล่อยมาจากตับจะสูงกว่าปกติมาก
เมื่อเริ่มมีอาการตัวเหลือง ค่าตัวเลขที่เรียกว่าบิลิรูบินจะเพิ่มขึ้นด้วย
อาจตรวจเลือดหรือตรวจภาพอวัยวะภายในเพื่อดูว่าโรคลุกลามไปยังอวัยวะส่วนอื่นนอกจากตับหรือไม่ ซึ่งจะช่วยให้ทราบด้วยว่าตับเสียหายจากการติดเชื้อหรือสาเหตุอื่น ๆ
หากคุณเป็นตับอักเสบเรื้อรัง หรือตับแข็ง ควรพบแพทย์เพื่อตรวจรักษาเป็นระยะ
นอกจากการตรวจภาพอวัยวะภายในเป็นระยะว่ามีอาการของมะเร็งตับร่วมด้วยหรือไม่ ยังมีการตรวจเพิ่มเติมเพื่อประเมินถึงความจำเป็นในการใช้ยาต้านไวรัสมารักษา และตรวจสอบประสิทธิผลของการรักษา

การรักษาโรคไวรัสตับอักเสบ B

การรักษาโรคไวรัสตับอักเสบ B จะรักษาตามอาการเป็นหลัก
คนไข้ที่มีอาการรุนแรงหรือผลตรวจเลือดพบว่าตับมีความเสียหายจำเป็นจะต้องรักษาตัวในโรงพยาบาล
ในระยะที่ตับอักเสบรุนแรง การทำงานของตับจะเสื่อมลง ดังนั้นจึงควรรับประทานอาหารที่มีโปรตีนและไขมันต่ำ เพื่อช่วยบรรเทาอาการและฟื้นฟูระบบทางเดินอาหาร
ผู้ติดเชื้อ 1-2% จะมีอาการตับอักเสบรุนแรงแบบเฉียบพลัน และมีอวัยวะอื่นนอกจากตับเสียหายไปด้วย โปรดไปพบแพทย์ทันที
อาจมีการใช้ยาต้านไวรัสเพื่อรักษาอาการตับอักเสบเรื้อรัง
นอกจากการรักษาโดยใช้อินเตอร์เฟียรอน ยังมีการรักษาโดยใช้ยาต้านไวรัสชื่อ ซึ่งเดิมทีถูกคิดค้นมาเพื่อใช้รักษาโรคติดเชื้อ HIV
ในการใช้ มารักษาโรคไวรัสตับอักเสบ B จะต้องตรวจสอบก่อนว่ามีโรคติดเชื้อเอชไอวีร่วมด้วยหรือไม่
เพราะการใช้ เพียงอย่างเดียวในการรักษาการติดเชื้อ HIV อาจนำไปสู่ภาวะดื้อยาเอชไอวีได้ ดังนั้น จึงจำเป็นต้องใช้แนวทางการรักษาที่ละเอียดซับซ้อนขึ้นสำหรับผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่เป็นโรคไวรัสตับอักเสบบี