Hepatitis A

โรคไวรัสตับอักเสบ A (Hepatitis A) คืออะไร?

โรคไวรัสตับอักเสบ A เป็นโรคตับที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบเอ หรือ Hepatitis A virus
โรคไวรัสตับอักเสบ A หรือที่เรียกกันว่าตับอักเสบเฉียบพลัน เพราะเกิดแล้วหายภายใน 6 เดือน
อาการตับอักเสบจะไม่ยาวนานต่อเนื่อง (เรื้อรัง) เกิน 6 เดือนแน่นอน
หลังจากติดไวรัสตับอักเสบ A แล้วประมาณ 1 เดือน จะพบเห็นอาการมีไข้ เมื่อยตัว คลื่นไส้ เบื่ออาหาร และภาวะตัวเหลือง
บางครั้งโรคนี้ถูกเข้าใจผิดว่าเป็นหวัด
ส่วนใหญ่แทบไม่แสดงอาการในเด็กเล็ก
โดยมากมักฟื้นตัวหลังแสดงอาการ 1-2 เดือน แต่ก็มีจำนวนน้อยมาก ๆ (0.1%) ที่พบอาการร้ายแรงที่เรียกว่าตับอักเสบรุนแรงแบบเฉียบพลัน หรือลุกลามไปยังอวัยวะอื่น ๆ ด้วย ดังนั้นการไปพบแพทย์โดยเร็วจึงเป็นเรื่องสำคัญหากคุณสงสัยว่าติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ A

เส้นทางการติดเชื้อและวิธีป้องกันตับอักเสบจากไวรัสตับอักเสบ A

เชื้อไวรัสตับอักเสบ A มักพบมากในอุจจาระของผู้ติดเชื้อ
ด้วยเหตุนั้นเอง หากได้รับสิ่งแปดเปื้อนอุจจาระของผู้ติดเชื้อผ่าการกลืนกินก็จะติดเชื้อได้
ไวรัสตับอักเสบ A จะอยู่ในอุจจาระของผู้ติดเชื้อเป็นเวลานาน โดยเริ่มตั้งแต่ก่อนมีอาการจนถึง 1-2 เดือนหลังจากอาการหายไปแล้ว
เชื้อไวรัสติดต่อได้ทางปาก
เมื่อผู้ติดเชื้อประกอบอาหารโดยไม่ล้างมือให้สะอาด และการมีเพศสัมพันธ์ทางปากก็ทำให้มีความชุกการติดเชื้อเพิ่ม
หอยกับสัตว์ทะเลเปลือกแข็งถูกปนเปื้อนได้ง่าย หากรับประทานดิบๆ ก็มีโอกาสที่จะติดเชื้อ
พบเห็นการระบาดอย่างต่อเนื่องได้ตามพื้นที่ที่ขาดสุขอนามัยที่ดี
การล้างมือด้วยสบู่กับน้ำ หลังจากใช้ห้องน้ำ หลังเปลี่ยนผ้าอ้อมเด็ก ก่อนจัดเตรียมอาหาร ล้วนเป็นวิธีป้องกันการติดเชื้อ
การหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยง เช่น การมีเพศสัมพันธ์ทางปาก หรือกิจกรรมทางเพศเช่น เลียทวารหนัก ดื่มน้ำปนเปื้อนในพื้นที่ที่สุขอนามัยไม่ดี ก็เป็นเรื่องสำคัญเช่นกัน
ผู้ที่ไม่เคยติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ A สามารถป้องกันได้โดยการฉีดวัคซีน
ปกติแล้วจะฉีดวัคซีน 3 เข็มโดยเว้นระยะห่างเป็นช่วงๆ
โรคไวรัสตับอักเสบ A เคยระบาดเป็นวงกว้างในญี่ปุ่น ฉะนั้นจึงพบว่าผู้สูงอายุจำนวนมากมีภูมิคุ้มกันโรคนี้แล้ว
หากตรวจวัดภูมิคุ้มกันโรคไวรัสตับอักเสบ A (IgG) แล้วผลเป็นลบ สามารถฉีดวัคซีนได้

การตรวจหาเชื้อไวรัสตับอักเสบ A

ประวัติการเดินทางไปในพื้นที่ระบาด การรับประทานหอยหรือสัตว์ทะเลเปลือกแข็งแบบดิบๆ และการมีเพศสัมพันธ์อย่างสุ่มเสี่ยง เป็นส่วนสำคัญในการตรวจวินิจฉัย
ควรให้ข้อมูลตามตรงกับแพทย์
การตรวจเลือดช่วยพิสูจน์หาภูมิคุ้มกันไวรัสตับอักเสบ A (IgM) ซึ่งช่วยให้วินิจฉัยได้อย่างแม่นยำ
แอนติบอดี้ IgG เป็นตัวแสดงว่าเคยติดเชื้อมาแล้วในอดีต จะใช้เพื่อตัดสินว่าจำเป็นต้องฉีดวัคซีนหรือไม่
ระหว่างมีอาการของตับอักเสบเฉียบพลัน ค่าเอนไซม์ AST/ALT ที่ปล่อยมาจากตับจะสูงกว่าปกติมาก
เมื่อเริ่มมีอาการตัวเหลือง ค่าตัวเลขที่เรียกว่าบิลิรูบินจะเพิ่มขึ้นด้วย
อาจตรวจเลือดหรือตรวจภาพอวัยวะภายในเพื่อดูว่าโรคลุกลามไปยังอวัยวะส่วนอื่นนอกจากตับหรือไม่ ซึ่งจะช่วยให้ทราบด้วยว่าตับเสียหายจากการติดเชื้อหรือสาเหตุอื่น ๆ

การรักษาโรคไวรัสตับอักเสบ A

การรักษาโรคไวรัสตับอักเสบ A จะรักษาตามอาการเป็นหลัก
คนไข้ที่มีอาการรุนแรงหรือผลตรวจเลือดพบว่าตับมีความเสียหายจำเป็นจะต้องรักษาตัวในโรงพยาบาล
ในระยะที่ตับอักเสบรุนแรง การทำงานของตับจะเสื่อมลง ดังนั้นจึงควรรับประทานอาหารที่มีโปรตีนและไขมันต่ำ เพื่อช่วยบรรเทาอาการและฟื้นฟูระบบทางเดินอาหาร
คนไข้โดยส่วนใหญ่มักฟื้นตัวภายใน 1-2 เดือน หลังจากเริ่มมีอาการ แต่ในบางกรณีแต่น้อยมากๆ (0.1%) จะพบอาการร้ายแรงที่เรียกว่าตับอักเสบรุนแรงแบบเฉียบพลัน ที่ลุกลามไปยังอวัยวะอื่นนอกจากตับด้วย
ควรรีบไปพบแพทย์ โดยเฉพาะเวลาที่ผู้สูงอายุที่ติดเชื้อ เนื่องจากพยากรณ์โรคจะมีอาการรุนแรงจนอาจส่งผลให้สูญเสียการทำงานของตับ