What is Sexual Health?

อนามัยการเจริญพันธุ์คืออะไร

  

อนามัยการเจริญพันธุ์ (Reproductive health) หมายถึง “ภาวะสุขภาพด้านเพศและการเจริญพันธุ์” การที่ผู้หญิงจะให้กำเนิดบุตรได้อย่างอุ่นใจจำเป็นต้องมีเพศสัมพันธ์ที่ปลอดภัยและให้ความพึงพอใจ พร้อมทั้งสภาพแวดล้อมที่สามารถคลอดบุตรได้อย่างปลอดภัย นอกจากนี้ผู้หญิงจะต้องมีอิสระในการวางแผนชีวิตของตนและตัดสินใจว่าต้องการมีบุตรหรือไม่ หากต้องการมีบุตรจะมีเมื่อไรและมีกี่คน จึงมีสิ่งที่เรียกว่า “Reproductive health and rights” เพื่อการนี้ ซึ่ง “Rights” หมายถึง “สิทธิ” กล่าวคือ คำว่า “อนามัยการเจริญพันธุ์” นอกจากจะหมายถึง “ภาวะสุขภาพ” ด้านเพศและการเจริญพันธุ์แล้ว ยังครอบคลุมถึง “สิทธิ” อีกด้วย อีกทั้งยังหมายถึงสุขภาพตลอดชีวิตของผู้หญิงซึ่งไม่จำกัดเฉพาะวัยเจริญพันธุ์เท่านั้น และยังครอบคลุมถึงภาวะสุขภาพด้านเพศและการเจริญพันธุ์ บทบาท ตลอดจนความรับผิดชอบของผู้ชายอีกด้วย
มีผู้คนจำนวนไม่น้อยที่ต้องตั้งครรภ์โดยไม่พึงประสงค์อันเนื่องมาจากตนเองและคู่เพศสัมพันธ์ขาดความรู้ที่ถูกต้องเกี่ยวกับเพศสัมพันธ์ การคุมกำเนิด การตั้งครรภ์ และการคลอดบุตร
ในปี 2018 มีการทำแท้งจำนวน 161,741 ราย แม้จะมีแนวโน้มว่ามีจำนวนลดลงแต่นับเป็น 6.4 รายต่อประชากร 1,000 คน การหลีกเลี่ยงการตั้งครรภ์โดยไม่พึงประสงค์เป็นสิ่งสำคัญเป็นอย่างยิ่งสำหรับอนามัยการเจริญพันธุ์เช่นเดียวกัน ดังนั้น จึงจำเป็นต้องมีการจัดการให้ทุกคนสามารถรับข้อมูลหรือบริการเกี่ยวกับวิธีคุมกำเนิดที่ปลอดภัย มีประสิทธิภาพ พร้อมทั้งมีราคาถูกและใช้งานง่าย

 

การคุมกำเนิดที่จำเป็นสำหรับการปกป้องร่างกายและชีวิตของผู้หญิง

วิธีการคุมกำเนิดมีหลายวิธี เช่น วิธีที่ผู้หญิงเป็นผู้ใช้ วิธีที่ผู้ชายเป็นผู้ใช้ วิธีที่ให้ผลลัพธ์ในการป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ควบคู่ไปด้วย เป็นต้น ควรทำความเข้าใจลักษณะเฉพาะของแต่ละวิธี และเลือกใช้วิธีที่ให้ผลในการคุมกำเนิดสูงตลอดจนเหมาะสมกับร่างกายและรูปแบบการใช้ชีวิตของตน

ยาคุมฮอร์โมนต่ำ (ยาคุมกำเนิดแบบใช้รับประทาน, OC)

ยาสำหรับรับประทานที่มีตัวยาเป็นฮอร์โมนเพศหญิง 2 ชนิด (ฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสติน) มีผลช่วยยับยั้งการตกไข่ และป้องกันไม่ให้ไข่ที่ได้รับการปฏิสนธิฝังตัวในผนังมดลูก และยังมีผลช่วยให้อสุจิเข้าสู่ภายในมดลูกได้ยากขึ้น เป็นวิธีคุมกำเนิดที่ผู้หญิงเป็นผู้รับประทานยา หากรับประทานยาตามปริมาณและระยะเวลาที่กำหนดจะได้ผลในการคุมกำเนิดสูง ทั้งยังช่วยบรรเทาอาการประจำเดือนผิดปกติหรืออาการปวดประจำเดือนอีกด้วย แต่ผู้ที่สูบบุหรี่อาจไม่สามารถรับประทานยานี้ได้

ห่วงอนามัยแบบมีฮอร์โมน (IUS ระบบคุมกำเนิดภายในมดลูก)

ฮอร์โมนโปรเจสตินซึ่งเป็นฮอร์โมนเพศหญิงจะถูกปล่อยออกมาจากห่วงทำจากพลาสติกที่ติดตั้งในมดลูก ช่วยให้ไข่ที่ได้รับการปฏิสนธิฝังตัวในผนังมดลูกได้ยากขึ้น แพทย์จะเป็นผู้ใส่และถอดอุปกรณ์นี้ในสถานพยาบาล เมื่อใส่อุปกรณ์นี้แล้วจะมีผลในการคุมกำเนิดสูงสุด 5 ปี ในระยะเวลาหลายเดือนหลังจากใส่ห่วงอนามัย จะมีเลือดออกซึ่งไม่ใช่ประจำเดือน แต่เมื่อเวลาผ่านไปจะมีผลช่วยลดปริมาณเลือดประจำเดือน และบรรเทาอาการปวดประจำเดือน อาจมีบางกรณีที่อุปกรณ์หลุดออกมานอกร่างกายได้เอง วิธีนี้เป็นวิธีคุมกำเนิดที่เหมาะสำหรับผู้ที่เคยคลอดบุตรมาก่อน

ห่วงอนามัย (UD ห่วงคุมกำเนิดภายในมดลูก)

ห่วงทำจากพลาสติกที่ติดตั้งในมดลูกจะช่วยป้องกันการปฏิสนธิและการฝังตัวในผนังมดลูกได้ยากขึ้น มีชนิดที่ปล่อยไอออนทองแดงซึ่งให้ผลในการคุมกำเนิดสูงด้วย แพทย์จะเป็นผู้ใส่และถอดอุปกรณ์นี้ในสถานพยาบาล เมื่อใส่อุปกรณ์นี้แล้วจะมีผลในการคุมกำเนิดประมาณ 2-5 ปี อาจมีบางกรณีที่อุปกรณ์หลุดออกมานอกร่างกายได้เอง วิธีนี้เป็นวิธีคุมกำเนิดที่เหมาะสำหรับผู้ที่เคยคลอดบุตรมาก่อน

ถุงยางอนามัย

เป็นถุงยางบาง ๆ สำหรับใส่ครอบอวัยวะเพศชายเพื่อป้องกันการหลั่งอสุจิเข้าไปในช่องคลอด สิ่งสำคัญคือควรเลือกขนาดที่พอดีและใส่ตั้งแต่แรก ถุงยางอนามัยมีราคาถูก หาซื้อง่าย และยังช่วยป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อีกด้วย ทั้งนี้ ต้องได้รับความร่วมมือในการคุมกำเนิดจากฝ่ายชาย

การนับระยะปลอดภัย

วิธีวัดอุณหภูมิร่างกายทุกเช้าเพื่อคาดคะเนระยะตกไข่และหลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์ในระยะดังกล่าว
วิธีคุมกำเนิดนี้มีข้อดีอยู่ที่จะได้รับรู้วงจรประจำเดือนของตน แต่อุณหภูมิร่างกายอาจเปลี่ยนแปลงไปตามสภาพร่างกาย เช่น เวลาเป็นหวัด ฯลฯ จึงอาจคาดคะเนระยะตกไข่ได้ยาก ทำให้มีความเสี่ยงสูงในการคุมกำเนิดผิดพลาด

การผ่าตัดคุมกําเนิด

วิธีคุมกำเนิดโดยการผ่าตัดที่สถานพยาบาล สำหรับผู้หญิงจะใช้ด้ายผูก (หรือตัด) ท่อนำไข่ สำหรับผู้ชายจะผูก (หรือตัด) ท่อนำอสุจิ เพื่อมิให้ไข่หรืออสุจิผ่านทางท่อได้อีก การผ่าตัดจะมีผลต่อร่างกายและหลังจากที่ผ่าตัดแล้วจะตั้งครรภ์ยาก สำหรับผู้หญิงจะมีความเสี่ยงต่อการตั้งครรภ์นอกมดลูกสูงขึ้น

สรุปวิธีการคุมกำเนิด

 เป็นการคุมกำเนิดสำหรับผู้หญิงหรือไม่มีผลในการป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์หรือไมอัตราการคุมกำเนิดผิดพลาดวิธีใช้งาน
ยาคุมฮอร์โมนต่ำ
(ยาคุมกำเนิดแบบใช้รับประทาน, OC)
× 0.3(9%) รับยาที่สถานพยาบาลมารับประทาน
ห่วงอนามัยแบบมีฮอร์โมน
(IUS ระบบคุมกำเนิดภายในมดลูก)
× 0.2 รับการบำบัดที่สถานพยาบาล
ห่วงอนามัย
(UD ห่วงคุมกำเนิดภายในมดลูก)
× 0.6 รับการบำบัดที่สถานพยาบาล
ถุงยางอนามัย × 2(18%) ซื้อตามร้านขายยา ฯลฯ
การนับระยะปลอดภัย × 0.4-0.5(24%) ซื้อเครื่องวัดอุณหภูมิร่างกายสำหรับผู้หญิงที่ร้านขายยาแล้ววัดอุณหภูมิ
การผ่าตัดคุมกําเนิด × หญิง 0.5% ชาย 0.10& รับการบำบัดที่สถานพยาบาล

*หากมองไม่เห็นทั้งหมด กรุณาเลื่อนหน้าจอไปด้านข้าง


อัตราการผิดพลาดในวงเล็บ (): กรณีที่ตั้งครรภ์ทั้งที่ใช้วิธีคุมกำเนิดแล้ว อาจเป็นไปได้ว่าลืมรับประทานยาคุมฮอร์โมนต่ำ ถุงยางอนามัยฉีกขาดหรือหลุด เป็นต้น อัตราการคุมกำเนิดผิดพลาดอ้างอิงจาก Contraceptive Technology, 20 ed,.Ardent Media, 2011 Table3-2

ทางเลือกในการใช้ยาคุมฉุกเฉิน (ยาคุมกำเนิดหลังร่วมเพศ)

ไม่มีวิธีใดที่สามารถคุมกำเนิดได้ 100% กรณีที่คาดว่าอาจเกิดการตั้งครรภ์ เช่น ถุงยางอนามัยหลุดออก อาจพิจารณาใช้ยาคุมฉุกเฉิน (ยาคุมกำเนิดหลังร่วมเพศ)
หรือในกรณีที่เกิดการร่วมเพศโดยไม่สมยอม ขอแนะนำให้เลือกใช้ยาคุมฉุกเฉินโดยเร็ว

ยาคุมฉุกเฉิน (ยาคุมกำเนิดหลังร่วมเพศ)

รับประทานยาภายใน 72 ชั่วโมง (ภายใน 3 วัน) หลังมีเพศสัมพันธ์ จะช่วยยับยั้งการตกไข่และป้องกันการปฏิสนธิ ฮอร์โมนเพศหญิงที่เรียกว่าโปรเจสตินเป็นองค์ประกอบหลักของตัวยา มีความปลอดภัยและให้ผลในการคุมกำเนิดสูง เป็นยาที่ใช้กันทั่วโลก
ในประเทศญี่ปุ่น จำเป็นต้องได้รับใบสั่งยาจากแพทย์ จึงต้องพบแพทย์นรีเวชโดยเร็ว ตั้งแต่ปี 2019 สามารถรับใบสั่งยาผ่านการวินิจฉัยทางออนไลน์ได้ แต่ได้มีการจัดกิจกรรมพลเมืองเรียกร้องการ “#ซื้อยาคุมฉุกเฉินที่ร้านขายยา” โดยยื่นคำร้องต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข แรงงานและสวัสดิการ เมื่อเดือนกรกฎาคม 2020 เพื่อที่จะสามารถซื้อยาคุมฉุกเฉินได้ตามร้านขายยาทั่วไปได้อย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น

สามารถดูรายชื่อสถานพยาบาลสูตินรีเวชที่สามารถเข้ารับการวินิจฉัยเกี่ยวกับการคุมกำเนิดฉุกเฉินได้ที่เว็บไซต์ของกระทรวงสาธารณสุข แรงงานและสวัสดิการ ซึ่งสถานพยาบาลเหล่านี้ได้แจ้งความประสงค์ที่จะแสดงรายชื่อในเว็บไซต์
https://www.mhlw.go.jp/stf/seisakunitsuite/bunya/0000186912_00002.html